หัวข้อ   “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก
              6 เดือนข้างหน้า”
 
                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันที่มีปัญหารุมเร้าในหลายๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาปากท้องของประชาชน   ปัญหาการชุมนุมประท้วง   ปัญหาความไม่สงบใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  และปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชา ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “
ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทย
ในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า
”  โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วทุกภาคของ
ประเทศจำนวน 1,427 คน  เมื่อวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยรวมทุกด้านเพียงแค่
3.47 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)   โดยปรับลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้ง
ก่อนหน้า (มิ.ย. 53)  ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวันที่
19 พฤษภาคม 53  ที่มีคะแนนเท่ากับ 3.57 คะแนน (ลดลงร้อยละ 2.8)   และเมื่อพิจารณา
ความเชื่อมั่นในแต่ละด้านพบว่า  ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจมากที่สุด  แต่ยังคงมี
คะแนนไม่ถึงครึ่ง (4.01 คะแนน)   รองลงมาคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (3.47 คะแนน)
ส่วนด้านการเมืองประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (2.94 คะแนน)
 
                 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัดจากจำนวนทั้งสิ้น 12 ตัวชี้วัด  พบว่า ความเชื่อมั่นต่อ
การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด (1.91 คะแนน)   เช่นเดียวกับผลการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา   ขณะที่ความ
เชื่อมั่นด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียนเป็นความเชื่อมั่นที่มีคะแนนสูงที่สุด  แต่ก็ยังไม่ถึงครึ่ง
(4.69 คะแนน)   ส่วนด้านความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงมากที่สุดคือด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ (ลดลง 0.38 คะแนน)
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า   ประชาชนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศว่าสามารถแข่งขันได้ในอาเซียน
แต่ไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่ฝังรากลึกในระบบการเมืองไทยและเมื่อรวมกับความเชื่อมั่นในความรัก
ความสามัคคีของคนในชาติที่ลดลง  สองสิ่งนี้จะเป็นปัจจัยกัดกร่อนศักยภาพของประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
   
                 เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 44.7 ระบุว่า
เหมือนเดิม    ร้อยละ 33.9 เชื่อว่าจะแย่ลง    มีเพียงร้อยละ 21.3 ที่เชื่อว่าจะดีขึ้น
 
                 ดังรายละเอียดตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ศักยภาพโดยรวมของประเทศไทย ในปัจจุบัน

ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ
คะแนนความเชื่อมั่น (เต็ม 10 คะแนน)
มิ.ย. 53
ก.พ. 54
เปลี่ยนแปลง
1) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ
    (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่)
3.40
3.44
+ 0.04
2) ด้านฐานะการเงินของประเทศ
    (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่าง
     ประเทศ)
3.53
3.48
- 0.05
3) ด้านศักยภาพของคนไทย
    (การศึกษา/สุขภาพ/ความรู้ความสามารถ/
     ความซื่อสัตย์มีวินัย และพัฒนาได้)
4.30
4.43
+ 0.13
4) ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาค
    อาเซียน

    (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และ
     การลงทุน)
4.47
4.69
+ 0.22
ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม)
3.92
4.01
+ 0.09
5) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ
3.26
2.88
- 0.38
6) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย
    (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และความเท่าเทียมกัน
     ในการบังคับใช้กฎหมาย)
3.30
3.05
- 0.25
7) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.61
4.63
+ 0.02
8) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
    (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร
      การปนเปื้อนในอาหาร และมลพิษ)
3.16
3.30
+ 0.14
ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม)
3.58
3.47
- 0.11
9) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
2.17
1.91
- 0.26
10) ด้านการปฎิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบ
      ประชาธิปไตย
      (คุณภาพนักการเมือง ระบบเลือกตั้ง และการมี
       ส่วนร่วมของประชาชน)
3.16
2.80
- 0.36
11) ด้านความสามารถในการบริหารประเทศ ของรัฐบาล
      ชุดปัจจุบัน
3.79
3.43
- 0.36
12) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจาก
      หน่วยงานภาครัฐ

      (ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นประโยชน์)
3.69
3.62
- 0.07
ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม)
3.20
2.94
- 0.26
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
3.57
3.47
- 0.10
(- 2.8%)
 
 
             2. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า

ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทย
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เชื่อว่า
จะดีขึ้น
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะเหมือนเดิม
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะแย่ลง
(ร้อยละ)
1. ด้านเศรษฐกิจ
26.4
42.9
30.7
2. ด้านการเมือง
23.3
53.5
23.2
3. ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
14.2
37.8
48.0
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
21.3
44.7
33.9
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ จากทั่วทุกภาคของประเทศ   ประกอบด้วย ปทุมธานี นทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่
ลำปาง ขอนแก่น นครราชศรีมา นครสวรรค์ สระบุรี ชลบุรี นครศรีธรรมราช และตรัง   โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,427 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.9 และเพศหญิงร้อยละ 50.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และการโทรศัพท์สัมภาษณ์  โดยมีเครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)   จากนั้นคณะ
นักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  12 - 14 กุมภาพันธ์ 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 กุมภาพันธ์ 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
712
49.9
             หญิง
715
50.1
รวม
1,427
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
344
24.1
             26 – 35 ปี
387
27.1
             36 – 45 ปี
354
24.8
             46 ปีขึ้นไป
342
24.0
รวม
1,427
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
881
61.7
             ปริญญาตรี
462
32.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
84
5.9
รวม
1,427
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
167
11.7
             พนักงานบริษัทเอกชน
387
27.1
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว / เกษตรกร
404
28.4
             รับจ้างทั่วไป
200
14.0
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
89
6.2
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
180
12.6
รวม
1,427
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776